วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Energy Update ตอน กรมพพ.สนับสนุนเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำ ให้ใช้เชื้อเพลิงช...



ท่าน ธรรมยศ ศรีช่วย 
อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ให้สัมภาษณ์ในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการ เปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำ ให้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

รายละเอียดโครงการ
คลิ๊ก ===> "โครงการสนับสนุนเพื่อเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำเป็นหัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล"

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ข่าวดี ทางโครงการเพิ่มคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว

ข่าวดี ข่าวด่วน!!!

      เนื่องจาก มีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก แต่มีบางแห่งมีการใช้หัวเผาในระบบอบแห้งนั้น จึงไม่สามารถเข้าร่วม โครงการดังกล่าวได้

แต่......บัดนี้ ทางโครงการเปิดโอกาสให้กับสถานประกอบการที่สนใจ
และมีหัวเผา“ระบบอบให้ความร้อน (ระบบอบแห้ง) ”
สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้ว สมัครด่วน!!!!!

คลิ๊ก ===> ติดต่อฝ่ายประสานงานโครงการ
คลิ๊ก ===> ดาวน์โหลดใบสมัคร


ข่าวดี ทางโครงการเพิ่มคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว

ข่าวดี ข่าวด่วน!!!

      เนื่องจาก มีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก แต่มีบางแห่งมีการใช้หัวเผาในระบบอบแห้งนั้น จึงไม่สามารถเข้าร่วม โครงการดังกล่าวได้

แต่......บัดนี้ ทางโครงการเปิดโอกาสให้กับสถานประกอบการที่สนใจ
และมีหัวเผา“ระบบอบให้ความร้อน (ระบบอบแห้ง) ”
สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้ว สมัครด่วน!!!!!

ติดต่อฝ่ายประสานงานโครงการ

ดาวน์โหลดใบสมัคร


วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บรรยากาศการดูงาน ณ โรงงานต้นแบบ ที่ใช้หัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวล

ขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจ ในการเข้าเยี่ยมชม โรงงานต้นแบบ ในการใช้หัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ณ (บริษัท แอลวาย อินดัสทรี จำกัด ) หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านเป็นอย่างยิ่ง หากขาดตกบกพร่องประการใดต้องขออภัยมา ณ โอกาส นี้ด้วยนะคะ
====================================
สนใจสอบถามฝ่ายประสานงานโครงการ 
คุณจิราภรณ์ ศรีบุญณะ โทรศัพท์
คุณชนัญชิดา วงศ์อาษา 
 : 081 391 1998 


 





วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรียนเชิญผู้ที่สนใจ เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบ จากการใช้หัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

ในวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2559 ที่จะถึงนี้ 

ทาง'โครงการสนับสนุนเพื่อเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำไปเป็นหัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล'
จะมีการจัดการเยี่ยมชม โรงงานต้นแบบที่มีการใช้หัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล
"บริษัท แอล.วาย. อินดัสตรีส์ จำกัด"พระยาสุเรนทร์ แขวง บางชัน เขต คลองสามวา กรุงเทพมหานคร 
รับได้จำนวน 30 ท่านคะ
====================================
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และลงชื่อในการเข้าเยี่ยมชมโรงงานได้ได้ที่
คุณจิราภรณ์   ศรีบุญณะ  ,คุณชนัญชิดา  วงศ์อาษา

E-mail : Pomping2010@hotmail.com , Prenergy1@gmail.com
==================================

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด(Wood Pellets)

 เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด(Wood Pellets)    
ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด เปลือกยูคาลิปตัส หรือเศษไม้ ปีกไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น ปลายไม้ ปีกไม้ยางพาราเป็นต้น และต้นไม้โตเร็ว เช่น ต้นตะกู ต้นกระถินยักษ์ นำมาผ่านกระบวนการย่อยและลดความชื้นแล้วนำมาอัดเป็นแท่งจากนั้นจึงนำไปลดอุณหภูมิ ก่อนจัดเก็บเข้าไซโล (Silo) โดยสามารถรักษาความชื้น (Moisture Content) อยู่ในระหว่าง 8 -15% ได้ค่าความร้อนสูง (High-Heating Value) เหมาะกับการนำไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงในบอยเลอร์หรือเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler) หรือใช้ในเตาเผา (Stove) สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ
 คุณสมบัติของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet)
  • ค่าความร้อนสูง 4000 – 4500 Kcal/kg (AR basis) (ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบชีวมวลที่นำมาผลิต)
  • ค่าความชื้นต่ำ กว่า 10% (ซึ่งเชื้อเพลิงชีวมวลโดยทั่วไปมีปัญหาเรื่องความชื้นสำหรับการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อต้มไอน้ำ)
  • ค่าความหน่าแน่นสูง 600-700 kg/m3 (ทำให้ขนส่งได้สะดวก)
  • ปริมาณขี้เถ้าต่ำ 1-2%
  • ซัลเฟอร์ ต่ำ 0.1-0.2% (เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
ข้อดีของเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล
1. สะดวกในการขนส่งประหยัดค่าขนส่งเนื่องจากมีความหนาแน่นสูง(bulk density)ประมาณ 700-1100 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร
2. สามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่ายเพราะมีขนาดที่เท่าๆกัน ทำให้มีอัตราการเผาไหม้ที่สม่ำเสมอและการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
3. มีขี้เถ้าน้อยกว่าชีวมวลประเภทอื่น
4. ให้พลังงานความร้อนมากกว่าชีวมวลประเภทอื่น (High Heating Value)
5. ค่าความชื้นต่ำ (น้อยกว่า10%)
6. เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน (Global Warming) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจะถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยพืชเพื่อสังเคราะห์แสง (Carbon Offset) และทางโรงงาน ผู้ใช้เชื้อเพลิงยังสามารถมาตรขอ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับผู้ส่งออก
7. ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิล (Fossil Fuel) เช่น น้ำมันดิบ (Fuel Oil)    ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ก๊าซหุงต้ม (LPG)


เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด(Wood Pellet) 2-3 กิโลกรัม = น้ำมันเตา(Fuel Oil) 1 ลิตร


วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความหมายของชีวมวล


ชีวมวล (Biomass) 


ชีวมวล (Biomass) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือกชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายเศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสดกากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลังซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออกกาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อ มะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าวส่าเหล้า ได้จากการผลิตอัลกอฮอล์เป็นต้นชีวมวล สามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนของการเจริญเติบโตนั้น พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ



แล้วเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการ สังเคราะห์แสงได้ออกมา เป็นแป้งและน้ำตาล แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ดังนั้น เมื่อนำพืชมาเป็นเชื้อเพลิง เราก็จะได้พลังงานออกมา การใช้ประโยชน์ จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจะใช้ เชื้อเพลิงชีวมวล ชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ชีวมวลจึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก หากมีการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ไม่ไกลจากแหล่งเชื้อเพลิงมากนัก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง ชีวมวล มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย การนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจกเนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มีการปลดปล่อยเพิ่มเติมเรายังมุ่งหวังว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับชีวมวลจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งและ การมีส่วนร่วมของชุมชนได้อีกด้วย

องค์ประกอบของชีวมวล
องค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ 
ความชื้น (Moisture)  ความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
 ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Volatiles matter และ Fixed Carbon Volatiles matter คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชีวมวลใดที่มีค่า Volatiles matter สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย 
                ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณ 1 -3 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร